บทความที่เป็นประโยชน์

โอกาสขยายตัวของเศรษฐกิจไทย 2565 ไตรมาส 2

11 เมษายน 2565

เศรษฐกิจไทย 2565

โอกาสขยายตัวของ เศรษฐกิจไทย 2565 ไตรมาส 2  

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมา เศรษฐกิจไทยเผชิญความผันผวนจากความไม่แน่นอน  

ทั้งจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน  การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ตามมาด้วยสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่นำไปสู่ปัญหาราคาน้ำมันพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว และสร้างความกังวลต่อการเร่งขึ้นของเงินเฟ้อทั่วโลก  

ในความผันผวนที่เกิดขึ้น เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกกลับมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากปีก่อน  หลังเผชิญปัญหาโควิด-19 ช่วงไตรมาส 2 ต่อเนื่องและรุนแรงขึ้นในไตรมาส 3  

โดยต้นปีนี้การส่งออกยังคงขยายตัวโดดเด่น แม้มีปัญหาค่าระวางเรือสูง การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และปัญหาการขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์ที่กระทบภาคการผลิตกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์

แต่เศรษฐกิจประเทศสำคัญยังมีความต้องการสินค้าที่สูง  รวมทั้งเศรษฐกิจในหลายประเทศยังเติบโตได้สูงกว่าศักยภาพ  ซึ่งเป็นผลดีต่อการส่งออกไทยในปีนี้    

ทำให้ในช่วงไตรมาส 2 เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นกว่าช่วงไตรมาสแรก โดยเราคาดว่า GDP ไทยในช่วงไตรมาส 2 จะขยายตัว 2.3% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหรือ 0.8% เทียบไตรมาสต่อไตรมาสหลังปรับฤดูกาล

โดยได้ตั้งข้อสังเกตของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจช่วงไตรมาส 2 ไว้ดังนี้   

  • เมื่อความเชื่อมั่นฟื้น และเชื่อว่าคนอยู่ร่วมกับโควิดได้  อันเป็นผลดีต่อการท่องเที่ยวจากต่างชาติและคนไทยในประเทศ
  • รายได้ภาคเกษตรดีขึ้น จากปริมาณผลผลิตที่ออกมามากขึ้น ตลอดจนราคาสินค้าเกษตรที่โดยมากมีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมัน  ส่งผลให้รายได้จากการปลูกข้าว ยางพารา ปาล์ม อ้อย และมันสำปะหลังดีขึ้น
  • การส่งออกยังขยายตัวในช่วงไตรมาส 2  ด้วยการส่งออกสินค้าเกษตร ปิโตรเคมี และสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ที่ราคาขยับขึ้นตามราคาน้ำมัน  น่าจะพยุงการส่งออกได้ อีกทั้งการส่งออกสินค้ากลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน และกลุ่มอาหารแปรรูปที่ไทยมีความสามารถในการแข่งขันและตลาดสำคัญ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป และอาเซียนยังคงเติบโตได้
  • เชื่อว่าเงินบาทจะพลิกกลับมาแข็งค่าเทียบดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งปีหลังและแตะระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐได้ในช่วงปลายปี   จากปัจจัยความเชื่อมั่นที่มีมากขึ้นในตลาดทุนโลก หลังเฟดขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป  รวมทั้งไทยจะเริ่มมีรายได้จากการท่องเที่ยวที่มากขึ้น  และจากการคาดการณ์ว่าแบงก์ชาติจะเริ่มขยับดอกเบี้ยขึ้นได้หลังเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว  ซึ่งน่าจะดึงดูดนักลงทุนให้กลับเข้ามาลงทุนในไทยเพื่อเก็งกำไรค่าเงินบาทที่จะแข็งค่าได้ต่อเนื่องในปีหน้า
  • ในส่วนอัตราดอกเบี้ย  มองว่าทาง ธปท. น่าจะหามาตรการอื่นนอกจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนและเสถียรภาพของตลาดการเงิน  ขณะที่ภาครัฐน่าจะมีบทบาทมากขึ้นในการดูแลค่าครองชีพต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง

 

แหล่งข้อมูล : MGROnline   

----------------------------

ติดต่อสอบถามบริการ BTL

02-681-2005ถึง9

www.bkkterminal.com

m.me/BangkokTerminalLogistics

<< กลับไปหน้าบทความ

บทความอื่นๆ