บทความที่เป็นประโยชน์

WFH อย่างไรไม่ให้เกิดอาการ ออฟฟิศซินโดรม?

30 สิงหาคม 2564

ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม คือ 

เคยลองคำนวณดูไหมว่าในแต่ละวันที่เราทำงานอยู่บ้าน เรานั่งทำงานที่โต๊ะเป็นเวลากี่ชั่วโมง?

โดยส่วนใหญ่แล้ว หากนับเพียงเวลางานอย่างน้อยๆ ก็ 8 ชั่วโมงต่อวัน ยังไม่รวมถึงการนั่งทำงานเกินเวลา หรือนั่งเล่นอินเตอร์เน็ตเพื่อผ่อนคลายในช่วงพักจากงาน หรือแม้จะลุกออกมาจากโต๊ะทำงาน เพื่อมานั่งเล่นโทรศัพท์มือถือ หรือดูโทรทัศน์ที่โซฟาก็ตาม เรายังคงใช้สายตาไม่ได้หยุดพัก ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและสายตาอย่างต่อเนื่อง จนอาจเกิดอาการที่เรียกว่า ออฟฟิศซินโดรม ได้นั่นเอง

สภาพแวดล้อมการทำงานที่อาจทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรม วิธีแก้และควรหลีกเลี่ยง มีดังนี้

  • การนั่งทำงานติดพันเป็นเวลานาน โดยไม่ขยับเคลื่อนไหวร่างกาย
  • การทำงานที่มีความเครียด กดดัน
  • อยู่ภายในห้องแอร์ หรือห้องที่ปิดเป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่ได้ออกมาสูดอากาศธรรมชาติภายนอก
  • การใช้ไฟที่สว่างไม่พอในการทำงานกับคอมพิวเตอร์
  • ตารางการทำงานที่ไม่ปกติ เช่น เกิดการทำงานเกินเวลา หรือนอกเวลามากขึ้นในช่วง WFH ทำให้สมดุลในการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัวลดลง
  • เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในการทำงาน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ที่ไม่เหมาะกับสรีระ

กระบวนการเกิดออฟฟิศซินโดรม อาการ เจ็บปวดต่างๆ เช่น ปวดหัว คอ บ่า ไหล่ ปวดตา มีอาการเครียด นอนไม่หลับ โดยอาการดังกล่าว ส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิต หากปล่อยให้เรื้อรัง

ดังนั้น เราจึงมีวิธีการป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรมเบื้องต้นมาฝากกันครับ! โดยสามารถเริ่มได้จากการจัดวางโต๊ะทำงานให้ถูกสุขลักษณะ และเหมาะกับสรีระของเรา

  1. จัดวางให้หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับต่ำกว่าสายตาเล็กน้อย
  2. เลือกเก้าอี้ที่ซัพพอร์ตหลังทั้งช่วงบนและช่วงล่าง
  3. ขยับมานั่งชิดพนักพิงเก้าอี้ให้มากที่สุด อย่านั่งกึ่งกลาง หรือนั่งขอบเก้าอี้
  4. ปรับความสูงของเก้าอี้ให้เราสามารถวางเท้าราบกับพื้นได้พอดี

ในส่วนของการใช้โทรศัพท์มือถือ บางครั้งอาจต้องใช้เพื่อการทำงาน เช่น การอ่านอีเมล ตรวจสอบงานนอกเวลางาน หรือปิดคอมพิวเตอร์ไปแล้ว การใช้โทรศัพท์มือถือในการทำงานเป็นเวลานาน ก็สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราได้เช่นกัน หากจำเป็นจริงๆ อย่าลืมคอยเตือนตัวเอง ให้พยายามมองหน้าจอในระดับสายตา ไม่ก้มคอมากเกินไป เนื่องจากจะทำให้เกิดการบาดเจ็บกล้ามเนื้อคอจากการรับน้ำหนักเป็นเวลานานๆ

การใช้งานโทรศัพท์มือถือผิดท่านั้น สามารถทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้เช่นเดียวกัน

การป้องกันออฟฟิศซินโดรม วิธีอื่นๆ สามารถทำได้ง่ายๆ เช่น การลุกจากโต๊ะทำงาน มาเปลี่ยนอิริยาบถ ยืดเส้นยืดสายนอกห้องทำงานบ้าง พยายามควบคุมเวลาทำงาน ทานอาหารให้ตรงเวลา และอย่าละเลยการดื่มน้ำมากๆ ด้วยนะครับ

เมื่อบ้านกลายเป็นสถานที่ทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราจึงควรต้องปรับสมดุลการทำงานและชีวิตส่วนตัวให้ดี หรือที่เรียกกันว่า Work Life Balance นั่นเองครับ

<< กลับไปหน้าบทความ

บทความอื่นๆ