เปิดให้เอกชนร่วมประมูล 2 เส้นทางรถไฟรางคู่ 9,975 ล้าน
5 มีนาคม 2564
กรมการขนส่งทางรางได้จัดประชุม Market Sounding เปิดรับความเห็นจากภาคเอกชน และเปิดให้เข้าร่วมประมูลการใช้ประโยชน์จากระบบราง ที่ทางภาครัฐได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวแล้วอย่างเต็มประสิทธิภาพ
โดยจะเปิดให้เอกชนได้ร่วมให้บริการรถไฟรางคู่ ในการขนส่งผู้โดยสาร และสินค้า ผ่าน 2 เส้นทางรถไฟ ได้แก่
- กรุงเทพฯ-ขอนแก่น (สายอีสาน)
- ท่าเรือแหลมฉบัง – ท่าพระ (สายตะวันออก)
โดยจะให้ภาคเอกชนได้ใช้ประโยชน์ทางรางในช่วงเวลานอกเหนือจากการใช้รางของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อความคุ้มค่าในการลงทุน และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
ภาครัฐได้จัดสรรเส้นทางรางให้เอกชนร่วมลงทุนทั้งสิ้น 2 เส้นทางดังกล่าว ด้วยวงเงินลงทุน 9,975 ล้านบาท ใช้เวลา 15 ปี โดยมีรายละเอียดคร่าวๆ ดังนี้
- กรุงเทพฯ-ขอนแก่น
- ระยะทาง 450 กิโลเมตร
- จะรองรับผู้โดยสารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 เมืองหลักๆ คือ นครราชสีมาและขอนแก่น
- เดินรถ 6 เที่ยวต่อวัน
- ประกอบด้วยรถดีเซลราง 4 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้
- รางในลานจอดรถ
- ระบบอาณัติสัญญาณและระบบจำหน่ายตั๋ว
- คาดว่าจะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 2,000 – 2,200 คนต่อวัน
- ท่าเรือแหลมฉบัง – ท่าพระ
- ระยะทาง 501 กิโลเมตร
- เดินรถ 4 เที่ยวต่อวัน และเพิ่มเป็น 6 เที่ยวในปีที่ 6
- ปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ 60,000 – 100,000 ตู้ต่อปี
- เป็นเส้นทางศักยภาพในการขนส่งสินค้าการเกษตร
- อนาคตรองรับสินค้าประเภทแร่ หรือสินค้าจากจีนและลาว
- ประกอบด้วยหัวรถจักร 3 คัน แคร่ 165 คัน
- รางในลานจอดรถ
- ระบบอาณัติสัญญาณในพื้นที่จอด
- สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายการใช้ยานพาหนะได้ถึง 17,160 ล้านบาท
2 เส้นทางดังกล่าวนี้ จะมาช่วยเสริมทัพประสิทธิภาพในการเดินรถกับโครงการรถไฟทางคู่สายใต้ นครปฐม - ชุมพร และโครงการรถไฟทางคู่สายเหนือ ลพบุรี – ปากน้ำโพ ที่กำลังจะแล้วเสร็จในอีก 3 ปีข้างหน้า
ในส่วนของเอกชนที่ให้ความสนใจในการลงทุนครั้งนี้ ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทปูนซิเมนต์ไทยจำกัด (มหาชน) หรือ SCG และ บริษัทศรีตรังแอโกรอินดัสทรีจำกัดจำกัด (มหาชน)
จากการร่วมให้บริการเส้นทางศักยภาพสูงเหล่านี้ จะช่วยยกระดับการให้บริการระบบรางได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ช่วยให้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในครั้งนี้มีความคุ้มค่ายิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อประเทศด้านโลจิสติกส์ในระยะยาว
แหล่งข้อมูล: