เศรษฐกิจโลกฟื้น ส่งออกไทยพุ่งสุดในรอบ 18 เดือน ทะลุ 7.84 แสนล้านบาท
6 มีนาคม 2567
โดย “กีรติ รัชโน” ปลัดกระทรวงพาณิชย์ แถลง ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย โดย พบว่า ในเดือนมกราคม 2567 การส่งออกของไทยมีมูลค่า 22,649.9 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 784,580 ล้านบาท ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ 10%
ซึ่งถือได้ว่าบวกแรงสุดในรอบ 18 เดือน นับเป็นตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าจับตามองมากที่สุด สำหรับ “ภาคการส่งออกไทย” หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัว 9.2% สะท้อนให้เห็นว่าการส่งออกของไทยยังคงขยายตัวต่อเนื่อง
สอดคล้องกับหลายๆ ประเทศในเอเชีย ตามทิศทางการค้าโลกที่เริ่มฟื้นตัวจากภาวะเงินเฟ้อ ประกอบกับปัจจัยมูลค่าฐานการส่งออกต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
อีกทั้งมีแรงหนุนจากการส่งออกคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบตามการฟื้นตัวของวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่ยังคงขยายตัวสูง อย่างไรก็ตามยังคงต้องติดตามความไม่แน่นอนจากปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจจะเป็นอุปสรรคทางการค้าในระยะต่อไป
มูลค่าการค้ารวม
มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ
เดือนมกราคม 2567 การส่งออก มีมูลค่า 22,649.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 10% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 25,407.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 2.6% ดุลการค้า
ขาดดุล 2,757.9 ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท
เดือนมกราคม 2567 การส่งออก มีมูลค่า 784,580 ล้านบาท ขยายตัว 10.2% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 890,687 ล้านบาท ขยายตัว 2.% ดุลการค้า ขาดดุล 106,107 ล้านบาท
แนวโน้มการส่งออกในปี 2567
การส่งออกไทยยังคงได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าตามภาวะเงินเฟ้อโลกที่เริ่มชะลอตัว การได้รับอานิสงส์จากมาตรการรักษาความมั่นคงทางด้านอาหารของหลายประเทศ และจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่มีความเข้มแข็ง ขณะที่ความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางยังไม่ส่งผลกระทบทางตรงต่อไทยมากนัก
อย่างไรก็ตาม อุปสรรคการขนส่งที่เกิดจากความขัดแย้งดังกล่าว ส่งผลในทางอ้อมทำให้อัตราค่าระวางเรือเพิ่มสูงขึ้น และอาจทำให้เศรษฐกิจคู่ค้ามีความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในอนาคต ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนอาจจะยังมีความผันผวน จากทิศทางการปรับเปลี่ยนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้มีการติดตามประเด็นสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออก เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการทำงานในการผลักดันการเติบโตของมูลค่าการส่งออกของไทยในปี 2567 ที่ 1-2% ต่อไป
อย่างไรก็ตาม เป็นภาวะที่สอดคล้องกับ อัตราขยายตัวมูลค่าการส่งออกของหลายประเทศ ของเดือนมกราคม 2567 ที่เห็นภาพเริ่มสดใสขึ้น แต่ก็มีบางประเทศที่ยังคงติดลบ เช่น เวียดนาม +42% ไต้หวัน +18.1% เกาหลีใต้ +18% สิงคโปร์ +15.7% ไทย +10% อินเดีย +3.1% มาเลเซีย +0.2% ญี่ปุ่น -0.2% อินโดนีเซีย -8.1%
สะท้อนให้เห็นว่าโมเมนตัมการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการส่งออกเริ่มดีขึ้น และกลับมาถึงแม้ว่าจะมีปัญหาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ทะเลแดง ซึ่งมีผลกระทบกับค่าขนส่ง
สำหรับตลาดที่ขยายตัวในเดือนมกราคม 2567 Top 5 ได้แก่
ฮ่องกง +72% กลุ่ม CIS +64.6% ทวีปออสเตรเลีย +27.2% อาเซียน (S) +18.1% CLMV +16.6%
การส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ และแนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป
ทั้งนี้การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่
1.การหารือกับสหรัฐฯ เพื่อลดอุปสรรคในการส่งออก โดยขอให้พิจารณาเร่งรัดการต่ออายุการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ที่ได้หมดอายุไปเมื่อปลายปี 2563 รวมไปถึงการขอการสนับสนุนให้ไทยหลุดจากบัญชีประเทศที่ต้องจับตามอง (Watch List: WL) ทุกบัญชี โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน และการเป็นพันธมิตรด้านเศรษฐกิจกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะการเป็นฐานการผลิตในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เช่น ดิจิทัล AI อิเล็กทรอนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์ รถยนต์ไฟฟ้า พลังงานสะอาด การบิน ยาและเวชภัณฑ์ เป็นต้น
2.การเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าของไทยในตลาดสหรัฐฯ และอินเดีย คณะผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์และผู้ประกอบการส่งออกเดินทางไปเยือนนครลอสแอนเจลิสของสหรัฐฯ เพื่อเร่งผลักดันการนำเข้าสินค้าไทยในสหรัฐฯ ตลอดจนสร้างเครือข่ายพันธมิตรและความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน แสวงหาผู้นำเข้ารายใหม่ในตลาดสหรัฐฯ พร้อมการลงนาม MOU สินค้าข้าวหอมมะลิ และอาหารกระป๋อง ระหว่างผู้ส่งออกไทยกับผู้นำเข้าสหรัฐฯ ด้วย
นอกจากนี้ยังได้นำคณะผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงาน Vibrant Gujarat Global Summit ครั้งที่ 10
ที่รัฐคุชราต ประเทศอินเดีย เป็นโอกาสดีของนักลงทุนไทยที่จะปักหมุดการลงทุนในรัฐคุชราตได้เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้มีการผลักดันเร่งโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน โดย นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้รฟท.ได้เร่งรัดโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ระยะทาง 250.77 กม. มีวงเงินลงทุน 179,412.21 ล้านบาทโดยแบ่งเป็นค่างาน
โยธา 14 สัญญา ปัจจุบันก่อสร้างเสร็จแล้ว 1 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 11 สัญญา ส่วนอีก 2 สัญญาที่ยังไม่ได้ลงนาม เพื่อแก้ปัญหาการขนส่งที่ล่าช้า และเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าของประเทศไทย
ที่มาแหล่งข้อมูล : Tharath monet / infoquest
--------------------------
ติดต่อสอบถามบริการ BTL
02-681-2005ถึง9
www.bkkterminal.com
m.me/BangkokTerminalLogistics