บทความที่เป็นประโยชน์

ฝ่าพิษโควิด ส่งออกสินค้าไทย พฤษภาคม 2565 โต 10.5%    

15 กรกฎาคม 2565

ส่งออกสินค้าไทย

ฝ่าพิษโควิด ส่งออกสินค้าไทย พฤษภาคม 2565 โต 10.5%    

นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยและการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน เดือนพฤษภาคมและ 5 เดือนแรกของปี 2565 ว่า ตัวเลขการส่งออกเดือนพฤษภาคม 2565 เพิ่มขึ้น 10.5% มีมูลค่ารวม 854,372 ล้านบาท และการส่งออกในภาพรวม 5 เดือนแรก( ม.ค.-พ.ค.) ขยายตัว 12.9% คิดเป็นมูลค่า 4.03 ล้านล้านบาท 

หมวดสินค้าเกษตร การส่งออกเป็นบวก 3 เดือนต่อเนื่อง โดยขยายตัว 21.5% มูลค่า 106,082 ล้านบาท สินค้าสำคัญ เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง พ.ค.65 + 81.4% ลำไยอบแห้ง ส่งออกเดือนพฤษภาคม + 214.9%  ทุเรียนสด พฤษภาคม 2565  +11.4% มูลค่า 34,870 ล้านบาท  ข้าว เพิ่มขึ้น 4 เดือนต่อเนื่องโดยเดือนพฤษภาคม +24.7% และ 5 เดือนแรก +23.2% มูลค่า 47,803 ล้านบาท และยางพาราเดือนพฤษภาคม 2565 + 3.9% 5 เดือนแรกปีนี้ +2.8% มูลค่า 78,971 ล้านบาท

สินค้าหมวดอุตสาหกรรมการเกษตร ขยายตัวเป็นบวก 15 เดือนต่อเนื่อง พฤษภาคม 2565 เพิ่มขึ้น 32.7%  และ    5 เดือนแรก 2565 เพิ่มขึ้น 27.9% มูลค่า 322,863 ล้านบาท สินค้าที่ขยายตัวสูงได้แก่ 1.น้ำตาลทราย พฤษภาคม2565 เพิ่มขึ้น 171.2% 5 เดือน เพิ่มขึ้น 151.0%  2.อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป พฤษภาคม 2565 เพิ่มขึ้น 32.5% 5 เดือน +10.9% มูลค่า 51,158 ล้านบาท 3.อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัว 33 เดือนต่อเนื่อง 5 เดือนแรก เพิ่มขึ้น 25.4% มูลค่า 40,721 ล้านบาท

หมวดสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 15 เดือนต่อเนื่อง  5 เดือนแรก + 11.3% มูลค่า 3,162,977 ล้านบาท สินค้าสำคัญ เช่น 1.เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ เดือน พฤษภาคม เพิ่มขึ้น 141.3%และ 5 เดือนแรก เพิ่มขึ้น 75.7% มูลค่า 63,029 ล้านบาท    2.อัญมณีและเครื่องประดับ 5 เดือนแรก เพิ่มขึ้น 48.3% มูลค่า 109,478 ล้านบาท  3.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 5 เดือนแรก เพิ่มขึ้น 14.9% มูลค่า 100,115 ล้านบาท4.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 5 เดือนแรก เพิ่มขึ้น 16.8% มูลค่า 121,142 ล้านบาท 5.ผลิตภัณฑ์ยางเดือน พฤษภาคม2565 เพิ่มขึ้น 10.0% มูลค่า 42,340 ล้านบาท และ 5 เดือนแรก หดตัว 4.3% มูลค่า 198,229 ล้านบาท 6.แผงวงจรไฟฟ้า 5 เดือนแรก เพิ่มขึ้น 14.7% มูลค่า 125,921 ล้านบาท

สำหรับตลาดที่ขยายตัวสูงสุด 10 อันดับแรกในเดือนพฤษภาคม 2565 ได้แก่ 1.เอเชียใต้ +55.7% 2.แคนาดา +45.3% 3.ตะวันออกกลาง +37.9% 4.สหรัฐอเมริกา +29.2% 5.ลาตินอเมริกา+22.5% 6.เกาหลีใต้ +14.5% 7. CLMV +13.1% 8.สหภาพยุโรป +12.8% 9.แอฟริกา +10.2% และ 10. อาเซียน(5) +8.3%

โดยการส่งเสริมการตลาดที่สำคัญได้แก่ 

1.การบริหารจัดการส่งออกผลไม้ไปยังตลาดใหญ่ที่สุดของไทยคือ ตลาดจีน ประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรม สามารถปรับรูปแบบโลจิสติกส์ ที่ประสบปัญหาในช่วงก่อนหน้านี้ คือการขนส่งทางบก เป็นการขนส่งทางเรือและทางอากาศมากขึ้น

2.การจัดงาน THAIFEX-ANUGA ASIA 2022 “The Hybrid Edition” ของไทยประสบความสำเร็จทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่ง ทำรายได้มากกว่า 60,000 ล้านบาท

3.นโยบายการเร่งรัดการใช้ประโยชน์จาก FTA และ Mini-FTA  รวมทั้งการหารือร่วมกันแก้ปัญหาอย่างทันท่วงทีในระดับรัฐมนตรี

นอกจากนี้จากปัจจัยทางเศรษฐกิจในภาพรวม เช่น ความต้องการอาหารจากทั่วโลกที่สูงขึ้น ส่งให้ประเทศไทยส่งออกอาหารเกื้อหนุนได้มากขึ้น และภาคการผลิตทั่วโลกขยายตัว ความต้องการวัตถุดิบจากประเทศไทยเพื่อใช้ในการผลิตยังดีและสุดท้ายค่าเงินบาทอ่อนค่าในช่วงหลังมีส่วนช่วยทำให้การส่งออกสามารถแข่งขันราคากับคู่แข่งในตลาดโลกได้ดีขึ้น

นายจุรินทร์ ยังกล่าวถึง การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน ว่า การค้าชายแดน 4 ประเทศ  มาเลเซีย กัมพูชา เมียนมา และ ลาว  ในภาพรวมเดือนพฤษภาคม 2565 ส่งออกเพิ่มขึ้น 16.33% มูลค่า 55,002 ล้านบาท และ 5 เดือนแรกของปี 65 ส่งออก เพิ่มขึ้น 17.24% มูลค่า 267,052 ล้านบาท 

ส่วนการค้าผ่านแดน มี 3 ประเทศสำคัญ คือ จีน เวียดนาม และสิงคโปร์  ซึ่งเป็นปลายทางของการค้าผ่านแดน โดยการค้าผ่านแดนไปจีน เดือนพฤษภาคม -24.01% ทำเงินเข้าประเทศ 35,702 ล้านบาท  และ 5 เดือนแรก -23.81% ทำเงินเข้าประเทศ 137,534 ล้านบาท เหตุผลสำคัญคือหันไปส่งออกทางเรือและทางอากาศมากขึ้นแทนการส่งออกข้ามแดนไปทางบก ทำให้ตัวเลขผ่านแดนผ่านเส้นทางบกลดลง แต่ไม่มีผลทำให้ตัวเลขการส่งออกในภาพรวมกลับเพิ่มขึ้น

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ

----------------------------

ติดต่อสอบถามบริการ BTL

02-681-2005ถึง9

www.bkkterminal.com

m.me/BangkokTerminalLogistics

<< กลับไปหน้าบทความ

บทความอื่นๆ