ส่งออกไทย 2565 ในเดือน ม.ค. ขยายตัว 8 % พร้อมเจรจาหาตลาดเพิ่ม
9 มีนาคม 2565
ส่งออกไทย ม.ค. 2565 ขยายตัว 8 % พร้อมเจรจาหาตลาดเพิ่ม
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยเดือน ม.ค. 2565 มีมูลค่า21,258 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 8% เมื่อเทียบกับม.ค.2564 ที่ขยายตัวแค่ 0.1% ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 23,785 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 20.5% ซึ่งเป็นผลมาจากการนำเข้าวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต และการนำเข้าน้ำมันที่ราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยขาดดุลการค้ามูลค่า 2,526.4 ล้านดอลลาร์
โดยปัจจัยที่ทำให้การส่งออกไทยเดือนม.ค.ขยายตัว 8 % มาจากการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับภาคเอกชนที่ยังเดินหน้าต่ออย่างเข้มข้น บวกกับภาคการผลิตทั่วโลกยังขยายตัว ดูได้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 19 สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจยังฟื้นตัวต่อเนื่อง รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์เริ่มดีขึ้น โดยเฉพาะท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งสหรัฐกับภาคเอกชนร่วมมือกันขยายเวลาทำการในวันหยุด และเพิ่มการทำงานในช่วงกลางคืน ทำให้การขนส่งคล่องตัวขึ้นและตู้คงค้างลดลง ซึ่งปี 65นี้ยังคงตั้งเป้าการส่งออกไว้ที่ 3-4 % ขยายตัว 31.9%
สำหรับตลาดที่ขยายตัวสูงสุด 10 อันดับแรกในเดือนม.ค.2565 ได้แก่ 1. อินเดีย ขยายตัว 31.9% 2. รัสเซีย ขยายตัว 31.9% 3. สหราชอาณาจักร ขยายตัว 29.7% 4. เกาหลีใต้ ขยายตัว 26.8% 5. สหรัฐฯขยายตัว 24.1% 6. แคนาดา ขยายตัว 13.6% 7. อาเซียน5 ขยายตัว 13.2% 8. จีน ขยายตัว 6.8% 9. ลาตินอเมริกา ขยายตัว 5.0% 10. สหภาพยุโรปขยายตัว 1.4% ทั้งนี้ตัวเลขการส่งออกเดือนม.ค.ที่ออกมาล่าช้าและไม่มีรายละเอียดรายสินค้า เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่กรมศุลกากรปรับระบบพิกัดศุลกากรทุก 5 ปี
สำหรับสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน กระทรวงพาณิชย์ ร่วมประชุมกับภาคเอกชน ทั้งสภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สมาพันธ์ SMEs และสมาคมอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยที่ประชุมเห็นว่า สถานการณ์ขณะนี้ยังไม่มีผลกระทบทางตรงต่อการส่งออกของไทย เพราะตลาดรัสเซียเป็นตลาดส่งออกที่มีสัดส่วนการตลาดแค่ 0.38% ของไทย และตลาดยูเครน 0.04% ถือว่าเป็นสัดส่วนที่ไม่มาก สำหรับผลกระทบทางอ้อม อาจมีเรื่องราคาพลังงาน ราคาเหล็กนำเข้าที่นำมาผลิตสินค้าต่อเนื่อง เช่น กระป๋อง หรือก่อสร้าง ที่จะได้รับผลกระทบ รวมถึงธัญพืชนำเข้าเพื่อทำอาหารสัตว์ เช่น ข้าวสาลีและข้าวโพด โดยเฉพาะยูเครน ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ของโลก
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการรับมือ กระทรวงพาณิชย์ได้เตรียมมาตรการต่าง ๆ รองรับร่วมกัน หากเกิดปัญหา โดยจะหาตลาดทดแทน เช่น ตะวันออกกลาง แอฟริกา ลาตินอเมริกา ในส่วนปัญหาการขนส่งสินค้าที่อาจหยุดชะงักจากความขัดเย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่อาจทำให้มีการปิดท่าเรือบางแห่งนั้น ก็สามารถนำสินค้าขึ้นท่าเรือผ่านประเทศอี่นได้ หรืออาจมีการเร่งรัดเจรจากับทางการจีนเปิดเส้นทางรถและทางราง เพื่อขนส่งสินค้าของไทยผ่านแดนจีนไปยังเอเชียกลาง และยุโรป
แหล่งข้อมูล : กรุงเทพธุรกิจ
----------------------------
ติดต่อสอบถามบริการ BTL
02-681-2005 ถึง 9
www.bkkterminal.com
m.me/BangkokTerminalLogistics