บทความที่เป็นประโยชน์

รถไฟลาว จีน กับโอกาสทางเศรษฐกิจของหนองคาย

30 ตุลาคม 2564

รถไฟลาว จีน

รถไฟลาว จีน กับโอกาสทางเศรษฐกิจจังหวัดหนองคาย

ในวันที่ 2 ธันวาคม 2564  ได้มีการเปิดใช้รถไฟลาว จีน อย่างเป็นทางการ หรือเรียกว่า “Boten-Vientiane Railway” โดย รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทย แสดงความเห็นว่า หนองคาย “น่าจะมีโอกาสทางการค้าและการลงทุนมากกว่าจังหวัดอื่น” เพราะอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟในแขวงเวียงจันทน์มากสุดถึง 9 สถานี (ทั้งขนส่งคนและของ)

ซึ่งโอกาสของหนองคายมีมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับการผลักดันดังต่อไปนี้

  1. สร้างเส้นทางรถไฟคำสะหวาด-สถานีนครหลวงเวียงจันทน์ 10 กม. (ขนส่งคน) เพราะปัจจุบันยังไม่มีเส้นทางรถไฟเส้นนี้ นั้นแสดงว่ายังไม่มีรถไฟเชื่อมจากหนองคายไปเชื่อมต่อสถานีรถไฟลาว- จีนโดยตรง

  2. สร้างเส้นทางรถไฟ หนองคาย-สถานีเวียงจันทน์ใต้ 4 กม. (ขนส่งสินค้า) โดยเส้นทางมาจากสะพานแห่งใหม่  หนองคายเชื่อมท่าเรือบก (Dry Port) และสถานีเวียงจันทน์ใต้ การมีเส้นทางรถไฟทั้งสองเส้นนี้จะทำให้จังหวัดหนองคายเป็น “จุดเชื่อมต่อ” รถไฟลาว-จีนโดยปริยาย หาก “เชื่อมเร็ว โอกาสหนองคายยิ่งมาก
  3. การสร้างสะพานหนองคาย-ลาวแห่งที่ 2 แม้ปัจจุบันมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 เชื่อมหนองคายกับท่าเดื่อ (ลาว)  แต่เมื่อรถไฟลาว-จีนเปิดบริการเต็มที่ ทั้งคนทั้งของ จะมีการขนส่งมากขึ้น จะทำให้เกินศักยภาพของสะพานแห่งนี้ การมีสะพานแห่งที่ 2 จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วน
  4. หนองคายจะกลายเป็นตลาดซื้อขายผลไม้ที่ใหญ่ของอาเซียนเพราะใกล้ตลาดจีน รวดเร็วและค่าขนส่งถูก เพราะใช้เวลาเดินทางด้วยรถไฟเส้นทางนี้จากเวียงจันทน์ไปคุนหมิงใช้เวลาเพียง 8 ชม. จากเดิมเดินทางด้วยรถยนต์ 15 ชม. ด้วยรถบัส 22 ชม.
  5. ศูนย์ธุรกิจที่ทันสมัย ประกอบด้วยการซื้อขายสินค้าทุกชนิด ผ่านทางออนไลน์ทั่วประเทศ เพราะมีระบบฐานข้อมูลสินค้าไทยทั่วประเทศ  ที่นักธุรกิจจีนสามารถเข้ามาติดต่อพูดคุยเจรจาธุรกิจได้ทันที รวมถึงการจับคู่ธุรกิจ ที่อาจเป็นโอกาสของ Start Up ไทยกับนักธุรกิจจีน
  6. ศูนย์เส้นทางท่องเที่ยวหนองคายจะเป็นประตูรับนักท่องเที่ยวจากรถไฟลาว-จีน ด้วยข้อมูลการท่องเที่ยวทั่วประเทศไทย
  7. เมกะฮับ (Mega Hub) หนองคายต้องเร่งปรับตัวโดยด่วนเพื่อรองรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในฝั่งลาวทั้ง Dry Port และ Vientiane Logistics Park ขนาดใหญ่ได้แก่ ศูนย์สินค้าเกษตร เขตส่งอออกเขตธุรกิจ เขตอุตสาหกรรมเบา ศูนย์ฮาลาลและเกษตรแปรรูป

 ในส่วนของการเปิดใช้รถไฟลาว-จีน ที่มีผลต่อการค้าชายแดนหนองคายแน่นอน เพราะในปี 2563 มูลค่าการค้าไทย-ลาว 1.9 แสนล้านบาท ไทยได้ดุลการค้า 1.7 หมื่นล้านบาท

โดย “ไทยส่งออกไปลาวที่ด่านหนองคายมากที่สุดสัดส่วน 45%” (ในจำนวน 8 ด่าน คือ หนองคาย มุกดาหาร น่าน อุบลฯ เลย นครพนม เชียงราย บึงกาฬ)) ทำให้คาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า (ปี 2568) มูลค่าการค้าชายแดนจะเพิ่มขึ้น 3.3 เท่าจากปี 2563 โดยเพิ่มขึ้นมากกว่า 200%
 

แหล่งอ้างอิง  :  หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

----------------------------

ติดต่อสอบถามบริการ BTL

02-681-2005 ถึง 9

www.bkkterminal.com

m.me/BangkokTerminalLogistics

 

#BTL #BTLLogistics #Logistics #Transportation

#ขนส่ง #ขนส่งผ่านแดน #Export #ส่งออก #การค้าชายแดน #การค้าผ่านแดน   

<< กลับไปหน้าบทความ

บทความอื่นๆ