บทความที่เป็นประโยชน์

มั่นใจ สะพานมิตรภาพไทย ลาว สร้างเสร็จ พร้อมเปิดใช้ปลายปี 2565

4 พฤษภาคม 2564

สะพานมิตรภาพไทย ลาว

ความคืบหน้า สะพานมิตรภาพไทย ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) วงเงินก่อสร้าง 3,930 ล้านบาท

คลิกอ่านรายละเอียดโครงการ  

หลังจากลงนามข้อตกลงการก่อสร้างเมื่อเดือนธันวาคม 2020 โดยแบ่งสร้าง 3 ตอน มีรายละเอียดพร้อมรายงานความคืบหน้า ดังนี้

ตอนที่ 1 งานถนนฝั่งไทย

  • ที่ตั้งโครงการ
    • บนทางหลวง 244 ระหว่าง กม. 0+000-9+400 ระยะทาง 9.400 กม. จ.บึงกาฬ
  • ค่างาน 831,110,000 บาท
  • เริ่มสัญญา 30 มิ.ย.63 สิ้นสุด 16 ธ.ค.65
  • ผู้รับจ้าง
    • บริษัท บัญชากิจ จำกัด
  • ความคืบหน้า
    • ได้ผลงาน 9.19% จากแผนงาน 8.60%
    • เร็วกว่าแผน 0.59%
    • กำลังสร้างถนนขนาด 4 ช่องไป-กลับ งานถมคันทาง บดอัดเป็นถนนดินลูกรังก่อนปูผิวจราจรให้แล้วเสร็จตามมาตรฐานการก่อสร้างทางต่อไป จากนั้นตีเส้นแบ่งช่องจราจร ติดตั้งป้ายจราจร ป้ายเตือนต่างๆ รวมทั้งติดตั้งไฟส่องสว่าง ขณะเดียวกันกำลังตอกเสาเข็ม เพื่อวางคานก่อสร้างสะพานข้ามคลอง

ตอนที่ 2 งานถนนฝั่งไทย และด่านพรมแดนฝั่งไทย

  • ที่ตั้งโครงการ
    • บนทางหลวง 244 ระหว่าง กม.9+400-12+082.930 ระยะทาง 2.683 กม. จ.บึงกาฬ
  • ค่างาน 883,110,000 บาท
  • เริ่มสัญญา 25 ก.ย.63 สิ้นสุด 13 มี.ค.66
  • ผู้รับจ้าง
    • บริษัท เทิดไท แอนด์ โค จำกัด
  • ความคืบหน้า
    • คืบหน้า 8.27% จากแผนงาน 8.54%
    • ช้ากว่าแผน 0.26%
    • กำลังก่อสร้างถนน และขนวัสดุลำเลียงเข้าพื้นที่เพื่อสร้างด่านพรมแดน

ตอนที่ 3 งานสะพานข้ามแม่น้ำโขงฝั่งไทย (รวมงานปรับปรุงสี่แยก ทล. 212 และลานอเนกประสงค์ใต้สะพาน)

  • ที่ตั้งโครงการ
    • ระหว่าง กม.12+082.930-13+032.930
  • ค่างาน 786,523,850 บาท
  • เริ่มสัญญา 24 พ.ย.63 สิ้นสุด 8 พ.ย.66
  • ผู้รับจ้าง
    • บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด
  • ความคืบหน้า
    • คืบหน้า 0.45% จากแผนงาน 1.75%
    • ช้ากว่าแผน 1.30%
    • กำลังสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงฝั่งไทย โดยวางแนวสะพานในฝั่งไทย เปิดหน้างานไปแล้วในพื้นที่ที่กระทำได้ รวมทั้งก่อสร้างทางลาดสะพาน ลานอเนกประสงค์ใต้สะพาน และงานปรับปรุงสี่แยก ทล. 212 ควบคู่ด้วย
    • มีความล่าช้าเนื่องจากทางไทยและ สปป.ลาว ต้องทำข้อตกลงในการกำหนดเขตแดนพื้นที่ในการก่อสร้าง ทั้งบนบกและในน้ำ ตามพื้นที่ที่กำหนดเท่านั้น ตลอดจนรายละเอียดปลีกย่อยด้านการขนส่งวัสดุก่อสร้าง ต้องขนเข้าออกจากฝั่งเดียวกันเท่านั้น คือ เข้าทางไทยก็ต้องออกทางไทย เนื่องจากเหตุผลทางด้านภาษี อีกทั้งสาเหตุจากการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 รอบที่ 3 นี้ ก็ส่งผลให้เกิดความล่าช้าด้วย

“อย่างไรก็ตาม ยังคงมั่นใจว่าการก่อสร้างจะยังคงแล้วเสร็จตามสัญญา”

โครงการดังกล่าวเมื่อแล้วเสร็จ จะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ อีกทั้งยัง สนับสนุนนโยบาย Connectivity ในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ระหว่างไทยและ สปป.ลาว เสริมสร้างโครงข่ายเส้นทางคมนาคมระหว่างไทย-ลาว-เวียดนาม-จีน ให้มีความสะดวก ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายยิ่งขึ้น ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพการค้าชายแดนอีกด้วย

แหล่งข้อมูล: เพจข่าวนวัตกรรมขนส่ง เดลินิวส์

<< กลับไปหน้าบทความ

บทความอื่นๆ