บทความที่เป็นประโยชน์

หวั่นลำไยล้นตลาด "พาณิชย์" เร่งขยายการส่งออกไปตลาด อินโดนีเซีย-อินเดีย และจีน

26 กรกฎาคม 2567

ลำไย ส่งออก

ลำไยเป็นหนึ่งในผลไม้หลายชนิดที่ประเทศไทยผลิตได้เพียงพอสนองความต้องการในประเทศและสามารถส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ลำไยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของไทย โดยเฉพาะกับเกษตรกรภาคเหนือ และจัดเป็น Product Champion ลำไยนับเป็นผลไม้หนึ่งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในด้านรสชาติและกลิ่นที่หาผลไม้อื่นทดแทนได้ยาก การผลิตลำไขของไทยมีอัตราการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น ในระยะ 5 - 6 ปีที่ผ่านมา แต่ผลผลิตส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน มีปริมาณผลผลิตมากที่สุด ลำไยเป็นหนึ่งในผลไม้หลายสิบชนิด ที่มีการส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ และทำรายได้เข้าประเทศปีละ
หลายพันล้านบาทไม่ว่าจะเป็นลำไยสด ลำไยแปรรูป ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก

การค้าภายใน ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ตามผลผลิตลำไย พบว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้น เตรียมขยายตลาดส่งออกไปยัง "อินโดนีเซีย-อินเดีย" และจีน ประสานงานและผลักดันแปรรูปอบแห้ง ตั้งเป้าการผลิต 1 แสนตัน พร้อมขอ
ปั๊มน้ำมันรับซื้อแจกผู้ใช้บริการ เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2567 นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวถึง สถานการณ์ผลผลิตลำไยภาพรวมของประเทศ ทั้งในฤดูและนอกฤดู คาดว่าจะมีปริมาณ 1.44 ล้านตัน
เพิ่มขึ้น 2% โดยเฉพาะ เชียงใหม่ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกมากประมาณ 40-50% ของผลผลิตทั้งหมด โดยราคาขณะนี้อยู่ในทิศทางที่ดี เกรด AA อยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 40-45 บาท สูงกว่าปีที่ผ่านมา ที่ประมาณ กก.ละ
30-35 บาท ซึ่งกรมได้เตรียมมาตรการดูแลผลผลิต ที่จะออกมากตั้งแต่ช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค

สำหรับมาตรการที่จะนำมาใช้ ได้มีการประสานกับผู้ส่งออก ผู้รวบรวมในพื้นที่และนอกพื้นที่ เข้าไปรับซื้อผลผลิต ทั้งการอบแห้งและการส่งออก โดยการอบแห้งตั้งเป้าหมายไว้ 100,000 ตัน และจะมีกิจกรรมการรณรงค์บริโภคทั่วประเทศ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งให้สถานีบริการน้ำมันรวบรวมและนำลำไยทั้งลำไยอบแห้งและลำไยสดไปแจกจ่ายเพื่อเป็นของสมนาคุณให้กับพี่น้องประชาชนที่เติมน้ำมันเหมือนทุกปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ยังได้หารือกับผู้ส่งออกเพื่อขยายตลาดส่งออกลำไยไปอินโดนีเซียและอินเดีย ซึ่งได้รับการยืนยันว่า ตลาดมีความต้องการลำไยจากไทยเพิ่มขึ้น และตลาดจีนมีความต้องการสูงเช่นกัน อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวอีกว่า มาตรการที่กรมได้เตรียมไว้ พร้อมดูแลผลผลิตลำไย ทั้งการเร่งระบายผลผลิตออกนอกพื้นที่
การผลักดันการส่งออก การนำไปทำลำไยอบแห้ง และ การแปรรูปเป็นลำไยคว้านเมล็ด ซึ่งจะเริ่มทำในปี 2567

โดยก่อนหน้านั้น กรมการค้าภายใน เตรียมมาตรการบริหารจัดการผลไม้ปี 2567 ไว้แล้วตั้งแต่ช่วงเดือน พ.ย. 2566 ปริมาณ 9 แสนตัน เฉพาะลำไยประมาณ 2 แสนตัน ทั้งในเรื่องการผลักดันส่งออก การแปรรูป
และการรณรงค์บริโภค โดยมั่นใจว่า จะผลักดันให้ราคาอยู่ในเกณฑ์ดีได้ตลอดทั้งฤดูกาล

ที่มาแหล่งข้อมูล : Thai PBS

<< กลับไปหน้าบทความ

บทความอื่นๆ